วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2561

บทที่ 10 โรคที่สำคัญของดาวเรืองและการป้องกัน



โรคที่สำคัญของดาวเรืองและการป้องกัน
โรคใบจุดAlternariasp. 
อาการใบเริ่มมีอาการใบจุดสีขาวแล้วเนื้อเยื้อตรงกลางแผลจะแห้งและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อนหรือสีเนื้อใบที่มีแผลหลายแผลจะค่อยๆแห้งร่วงหล่นทำให้ต้นทรุดโทรม(ระบาดในช่วงฤดูฝนและในสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง)
การป้องกันและกำจัด
1.เก็บใบที่ร่วงหล่นเผาทำลายเพื่อป้องกันการสะสมของเชื้อ
2.ระมัดระวังการให้น้ำ เพราะเชื้อสามารถแพร่กระจายไปกับละอองน้ำจากต้นที่เป็นโรค ไปยังต้นที่ปกติ
คลอโรธาโลนิล 20-30 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
แมนโคแซบ 50-100 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
ไอโพรไดโอน 20-30 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
ระยะเวลาที่สมควรในการพ่นยาควรพ่นในช่วงเช้า ก่อน 8.00 นาฬิกา และหลีกเลี่ยงอากาศร้อนจัด
โรคดอกเน่า Colletotrichum sp.
อาการโดยดอกที่เกิดโรคจะเน่าเป็นสีน้ำตาลโดยเฉพาะถ้าหากเกิดในระยะที่ดอกกำลังเริ่มเป็นดอกตูมจะทำให้ดอกไม่สามารถบานได้หากเชื้อเข้าทำลายในระยะที่ดอกบานจะพบว่ากลีบดอกจะมีสีน้ำตาลลามเข้าไปทาง โคนกลีบ ทำให้ดอกมีสีน้ำตาลดำ เชื้อเข้าทำลายจากดอกลามสู่ลำต้น (ระบาดในช่วงฤดูฝนและในสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง)
การป้องกันและกำจัด
1.หากพบว่ามีอาการของโรคภายในแปลงปลูกให้เก็บแล้วเผาทำลายเพื่อป้องกันการระบาดของโรคไปยังต้นอื่นๆ
2.ให้ระมัดระวังการให้น้ำอย่าให้ชุ่มมากจนเกินไปโดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนหรือในช่วงที่มีอากาศร้อน นอกจากนี้ในแปลงปลูกหากสามารถใช้ระบบน้ำหยด
จะสามารถลดการเปียกของต้นทำให้ลดการระบาดของโรคได้เป็นอย่างมาก
คลอโรธาโลนิล20-30กรัม/น้ำ20ลิตร
ไซเนบ 50-100 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
คาร์เบนดาซิม 30 กรัม,30 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร
ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการพ่นยาควรพ่นในช่วงเช้า ก่อน 8.00 นาฬิกา และหลีกเลี่ยงอากาศร้อนจัด

โรคเหี่ยวเหลือง Fusarium sp.
อาการ เริ่มจากใบดาวเรืองที่อยู่บริเวณโคนต้นแสดงอาการใบเหลือง แล้วแห้งลามขึ้นมาสู่ส่วนบนจนในที่สุดใบจะเหลืองและแห้งตายไปทั้งต้น ส่วนของลำต้นจะมีลักษณะแบนลีบและเหี่ยวไปด้วย ลำต้นบริเวณคอดินหรือเหนือดินเล็กน้อย มักมีสีแดงหรือสีคล้ำกว่าส่วนอื่น ท่อน้ำเลี้ยงแห้งเป็นสีน้ำตาล (เชื้อโรคนี้จะเริ่มเข้าทำลายในช่วงหลังจากย้ายปลูก 40-45 วันหลังย้ายปลูกช่วงดาวเรืองเป็นตุ่มตาดอก)
การป้องกันและกำจัด
1. เมื่อพบต้นเป็นโรค ให้ถอนทิ้งและเผาทำลาย ห้ามทิ้งในแปลงและลงในน้ำ เด็ดขาด
2. หลังจากถอนต้นทิ้งขุดดินบริเวณนั้นตากแดด
3. ปรับเปลี่ยนวิธีการให้น้ำในแปลง อย่าให้น้ำไหลผ่านบริเวณที่เป็นโรคไปยัง ต้นอื่น (ถึงแม้ถอนต้นที่เป็นโรคทิ้งแล้วก็ตามเพาะเชื้อตัวนี้สามารถ แพร่กระจายไปกับน้ำได้)
4. การดูแลรักษาแปลงปลูก ในช่วงที่พืชกำลังเจริญเติบโตและก่อนออกดอกให้ หมั่นตรวจแปลง ถ้าพบต้นมีอาการผิดปกติ หรือแสดงอาการเป็นโรคให้เห็น ให้รีบถอนทิ้งและทำลายพร้อมขุดดินส่วนนั้นผึ่งแดดทิ้งไว้ ในการกำจัดต้นที่เป็นโรคในแปลงควรกำจัดทั้งรากออกให้หมด ในกรณีที่ต้นเป็นโรคอยู่ในระยะ ช่วงที่กำลังลุกลามหรือต้นแสดงอาการเหี่ยวแล้ว เชื้ออาจลุกลามไปยังต้น ใกล้เคียงได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นวิธีการกำจัดต้องถอนต้นที่อยู่ใกล้เคียงกับต้นที่เป็นโรคทิ้งด้วยแม้ ต้น นั้นจะยังไม่แสดงอาการ
เบนโนมิล 30 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
ไธโอฟาเนทเมททิล
เทอร์ราคลอ (ใช้พ่นทางดิน) 60 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร
ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการพ่นยาควรพ่นในช่วงเช้า ก่อน 8.00 นาฬิกา และหลีกเลี่ยงอากาศร้อนจัด

โรคเหี่ยวเขียว Rastunia
อาการ เริ่มจากใบดาวเรืองที่อยู่บริเวณยอดด้านบนแสดงอาการเหี่ยวสลด แล้วใบจะลู่ลงเหมือนอาการขาดน้ำหลังจากนั้น 2-3 วันต้นที่เป็นโรคจะแสดงอาการเหี่ยวอย่างเห็นได้ชัด และอีก 4-5 วันต้นดาวเรืองจะตายโดยใบยังมีสีเขียวอยู่ (เชื้อโรคนี้จะเริ่มเข้าทำลายในช่วงหลังจากย้ายปลูก 40-45 วันหลังย้ายปลูกช่วงดาวเรืองเป็นตุ่มตาดอก)
การป้องกันกำจัด
1. เมื่อพบต้นเป็นโรค ให้ถอนทิ้งและเผาทำลาย ห้ามทิ้งในแปลงและลงในน้ำเด็ดขาด
2. หลังจากถอนต้นทิ้งขุดดินบริเวณนั้นตากแดด
3. ปรับเปลี่ยนวิธีการให้น้ำในแปลง อย่าให้น้ำไหลผ่านบริเวณที่เป็นโรคไปยังต้นอื่น (ถึงแม้ถอนต้นที่เป็นโรคทิ้งแล้วก็ตามเพาะเชื้อตัวนี้สามารถแพร่กระจายไปกับ น้ำได้)
4. การดูแลรักษาแปลงปลูก ในช่วงที่พืชกำลังเจริญเติบโตและก่อนออกดอกให้หมั่นตรวจ แปลง ถ้าพบต้นมีอาการผิดปกติ หรือแสดงอาการเป็นโรคให้เห็น ให้รีบถอนทิ้งและ ทำลายพร้อมขุดดินส่วนนั้นผึ่งแดดทิ้งไว้ ในการกำจัดต้นที่เป็นโรคในแปลงควรกำจัดทั้ง รากออกให้หมด ในกรณีที่ต้นเป็นโรคอยู่ในระยะช่วงที่กำลังลุกลามหรือต้นแสดงอาการ เหี่ยวแล้วเชื้ออาจลุกลามไปยังต้นใกล้เคียงได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นวิธีการกำจัดต้องถอนต้น ที่อยู่ใกล้เคียงกับต้นที่เป็นโรคทิ้งด้วยแม้ต้น นั้นจะยังไม่แสดงอาการ
สเตบโตมัยซิน 120 กรัม
ผสมเมทาแลกซิล 25% 200 กรัม
ผสมน้ำ 200 ลิตร รดโคนต้น
ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการพ่นยาควรพ่นในช่วงเช้า ก่อน 8.00 นาฬิกา และหลีกเลี่ยงอากาศร้อนจัด



บทที่ 9 ดูแลดอกดาวเรืองให้ปลอดโรคและแมลง



ดูแลดอกดาวเรืองให้ปลอดโรคและแมลง

ตามที่ได้มีประกาศเชิญชวนให้เกษตรกร และประชาชน ร่วมปลูกดาวเรืองหรือดอกไม้สีเหลืองให้ออกดอกบานสะพรั่งตั้งแต่กลางเดือน ตุลาคม ๒๕๖๐ เป็นต้นไป เกษตรกรและผู้ที่สนใจทั่วไป ที่ปลูกดาวเรืองเพื่อให้ออกดอกทัน ช่วงเดือน ตุลาคมนี้ ปัญหาส่วนใหญ่ที่มี คงไม่พ้นโรคพืชและแมลงศัตรูพืช การป้องกันกำจัดศัตรูพืชในดาวเรือง การป้องกันกำจัดแบบเลี่ยงเคมี  คือการให้สารชีวภัณฑ์ให้เข้ามามีบทบาทจัดการในแปลง ราขาวหรือ เชื้อราบิวเวอร์เรียจะป้องกันแมลงตระกูลเพลี่ยได้ดี ส่วนเมตาไรเซีบม และเชื้อแบคทีเรียบีที (บาซิลลัสทู ริงเจนซิส) จะกำจัดหนอน มีทั้ง หนอนผีเสื้อ  หนอนกระทู้ผัก โดยหนอนเหล่านี้จะเข้าทำลายในขณะดอกเริ่มบาน
แมลงศัตรูพืชและโรคในต้นดาวเรือง
เพลี้ยไฟ (Thrips) 
เพลี้ยไฟ (Thrips) แมลงศัตรูพืชตัวแสบ
แมลงศัตรูพืชของดาวเรืองเพลี้ยไฟ ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ทำลายส่วนต่าง ๆ ของดาวเรือง โดยจะใช้ปากที่มีลักษณะคล้ายเข็ม เขี่ยเนื้อเยื่อพืชให้ช้ำแล้วดูดกินน้ำเลี้ยงจากเซลล์พืช อาการของดาวเรืองที่ถูกเพลี้ยไฟทำลายคือ ส่วนยอดใบจะหงิกงอ ส่งผลให้ดอกไม่พัฒนาและลำต้นแคระแกร็น หากเป็นช่วงที่พืชขาดน้ำแล้วไม่ทำการป้องกันกำจัดจะทำให้พืชตายได้ นอกจากนั้นเพลี้ยไฟยังเป็นพาหะนำโรคไวรัส มาสู่ดาวเรืองอีกด้วย
การป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟ
·         ควรทำการสำรวจบริเวณยอดของดาวเรืองบ่อย ๆ  เพื่อเป็นการตรวจสอบปริมาณของเพลี้ยไฟ เนื่องจากด้วยตัวที่เล็กมาก ต้องสังเกตดีๆ
·         วางกับดักกาวเหนียว โดยใช้ พลาสติกสีฟ้าหรือสีขาว ขนาดกระดาษ A4 ทากาวเหนียว ติดเหนือทรงพุ่มต้นดาวเรืองอัตราการใช้ 100 ชิ้น/ ไร่
·         หากพบเพลี้ยไฟบริเวณยอดดาวเรือง มีจำนวนเพลี้ยไฟเฉลี่ยต่ำว่า 10 ตัวต่อยอด ห้ใช้เชื้อราบิวเวอร์เรีย อัตรา 500 กรัม/ น้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นเพื่อป้องกัน

แมลงวันหนอนชอนใบ (Leaf minors)
แมลงวันหนอนชอนใบ (Leaf minors)
แมลงขนาดเล็ก ลำตัวสีดำ มีแต้มสีเหลืองที่ข้างหน้าอก และส่วนอกด้านบน ปีกใส การเข้าทำลายของแมลงวันหนอนชอนใบดยตัวเต็มวัยเพศเมีย จะใช้อวัยวะวางไข่แทงเข้าไปในเซลล์ผิวใบดาวเรือง เขี่ยให้เซลล์แตก แล้วหันมาใช้ปากดูดกินน้ำเลี้ยงเซลล์ การทำลายแบบนี้จะทำให้ใบดาวเรืองที่ถูกทำลายเกิดเป็นรอยเจาะเล็กๆ เป็นจุด ๆ นอกจากนั้นแมลงวันตัวเต็มวัยเพศเมียเมื่อถึงระยะวางไข่ จะใช้อวัยวะวางไข่แทงเข้าไปในเซลล์ผิวใบดาวเรือง และวางไข่ในรอยเจาะ  ตัวหนอนฟักออกมาจากไข่ จะเจาะทะลุออกทางด้านที่ไข่ฝังตัวในเซลล์ใบดาวเรือง และเข้าชอนไชกินน้ำเลี้ยงอยู่ใต้ผิวใบ ทำให้เกิดเป็นรอยทางคดเคี้ยวเป็นรูปต่าง ทำให้การสังเคราะห์แสงของต้นดาวเรืองลดลง ทำให้เกิดอาการใบแห้งและตายในที่สุด
การป้องกันกำจัดแมลงวันหนอนชอนใบ
·         สำรวจแปลงปลูกดาวเรืองบ่อย ๆ โดยดูจากร่องรอยการทำลายที่เกิดจากตัวหนอน และร่องรอยการทำลายของแมลงวันหนอนชอนใบตัวเต็มวัยเพศเมียที่ทำให้ใบเกิดเป็นรอยจุดเล็กใบเป็นรอยคดเคี้ยว
·         รักษาความสะอาดบริเวณรอบแปลงปลูก ตัดแต่งทำลายวัชพืช รอบแปลงปลูกเพื่อเป็นการลดแหล่งหลบซ่อนตัวหนอนตัวเต็มวัยแมลงวันหนอนชอนใบ นำใบที่มีร่องรอยการทำลายไปเผาทำลาย เพื่อทำลายไข่และตัวอ่อนของแมลงวัน
·         วางกับดักกาวเหนียว โดยใช้ พลาสติกสีเหลือง ขนาดกระดาษ A4 ทากาวเหนียว ติดให้สูงจากทรงพุ่ม 30 เซนติเมตร อัตราการใช้ 100 ชิ้น/ ไร่
·         ใช้เชื้อแบคทีเรียบีที อัตรา 1 ลิตร/ น้ำ 200 ลิตร หากสำรวจแล้วพบว่าร่องรอยการทำลายของตัวหนอนมาก
กับดักแมลงล่อเพลี้ย
หนอนกระทู้ผัก (Common Cutworm)
หนอนกระทู้ผัก (Common Cutworm)
หนอนกระทู้ผัก เมื่อฟักออกจากไข่ใหม่ๆ มักจะอยู่รวมกลุ่มแทะกินผิวใบดาวเรืองและหนอนจะเริ่มแยกย้ายไปต้นอื่น หลังจากพ้นวัยที่ 2 เมื่อหนอนโตเต็มที่มีขนาด 3-4 เซนติเมตร ตัวหนอนจะเริ่มทำลายยอดอย่างรุนแรงมาก โดยกัดกินใบ ก้าน ดอก ของดาวเรือง ทำความเสียหายให้อย่างมาก เนื่องจากเป็นหนอนที่มีขนาดใหญ่และแพร่ระบาดได้เร็วตลอดปี เมื่อตัวโตเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดกลาง
 การป้องกันกำจัดหนอนกระทู้
·         วางกับดักกาวเหนียวโดยใช้พลาสติกสีเหลือง ขนาดกระดาษ A4 ทากาวเหนียวร่วมกับฟีโรโมนหนอนกระทู้ผัก ติดให้สูงจากทรงพุ่ม 30 เซนติเมตร อัตราการใช้ 100 ชิ้น/ ไร่
·         หากสำรวจแล้วพบว่ามีไรแดงเฉลี่ยมากกว่า 10 ตัวต่อต้นหรือมีไรแดงมากจนไม่สามารถควบคุมได้ ใช้เชื้อแบคทีเรียบีที (Bacillus thuringinesis) สลับกับเชื้อราเมตาไรเซียม ผสมสารจับใบทุกครั้ง ฉีดพ่นในช่วงเวลาเย็นทุก 5-7 วัน/ ครั้ง เมื่อพบหนอนระบาดในแปลง
หนอนกระทู้หอม (Beet armyworm)
หนอนกระทู้หอม (Beet armyworm)
ผีเสื้อหนอนกระทู้หอม จะวางไข่เป็นกลุ่มบนใบของดาวเรือง จำนวน 20-80 ฟอง สีขาวขุ่น ปกคลุมด้วยขนสีขาวที่เป็นส่วนหนึ่งของขนจากส่วนท้องของแม่ผีเสื้อ เมื่อใกล้ฟักจะเป็นสีน้ำตาลอ่อน หนอนกระทู้หอมลำตัวอ้วน ผนังลำตัวเรียบ มีหลายสี เช่น เขียวอ่อน เทาปนดำ น้ำตาลดำ น้ำตาลอ่อน ด้านข้างจะมีแถบสีขาวพาดยาวตามลำตัว ด้านละแถบ จากส่วนอกจนถึงส่วนปลายสุดของลำตัว ตัวหนอนเมื่อฟักออกจากไข่จะทำลายดาวเรืองโดยกัดกินส่วนต่างๆ ของดาวเรือง สร้างความเสียหายเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะช่วงที่ดาวเรืองเริ่มออก หากปล่อยให้หนอนกระทู้หอมเข้าทำลาย จนดอกดาวเรืองบาน ตัวหนอนกระทู้หอมจะกัดกินส่วนกลีบดอก ทำให้กลีบดอกร่วงสร้างความเสียหายอย่างมาก ซึ่งยากต่อการป้องกันและกำจัด เนื่องจากตัวหนอนอยู่ภายในดอกดาวเรืองทำให้ยากต่อการสัมผัสสารเคมี
 การป้องกันกำจัดหนอนกระทู้หอม
·         วางกับดักกาวเหนียว โดยใช้ พลาสติกสีเหลือง ขนาดกระดาษ A4 ทากาวเหนียวร่วมกับฟีโรโมนหนอนกระทู้หอม ติดให้สูงจากทรงพุ่ม 30 เซนติเมตร อัตราการใช้ 100 ชิ้น/ ไร่
·         ใช้เชื้อจุลินทรีย์ ได้แก่เชื้อ แบคทีเรีย บีที (Bacillus thuringinesis) สลับกับเชื้อราเมตาไรเซียม  ผสมสารจับใบทุกครั้ง ฉีดพ่นในช่วงเวลาเย็นทุก 5-7 วัน/ ครั้ง เมื่อพบหนอนระบาดในแปลง
ไรแดง (Red spider mite)
ไรแดง (Red spider mite)
ฝนช่วงอากาศร้อนจัด พบมากในบริเวณใต้ใบ และจะลามไปทั้งแปลง ไรแดงมีรูปร่างคล้ายกับแมงมุม ขนาดเล็กมาก สีแดง ชอบอยู่กันเป็นกลุ่ม หากมีปริมาณมากจะสร้างเส้นใยคล้ายแมงมุม คลุมทั้งต้นทั้งใบ ไรแดงจะใช้ปากที่เป็นแบบเจาะดูด เจาะดูดกินเซลล์ใบพืชและเซลล์ดอกพืช ทำให้ใบหงิกงอ ทำให้สีดอกมีสีซีด
การป้องกันกำจัดไรแดง
·         สำรวจต้นดาวเรืองบ่อยๆ เพื่อสำรวจปริมาณไรแดง โดยไรแดงให้สำรวจบริเวณยอดและใต้ใบดาวเรือง
·         ตัดแต่งใบที่มีไรแดงอาศัยออกไปเผาทำลายเพื่อลดปริมาณประชากรของไรแดง (Mechanical control)
·         หากสำรวจแล้วพบว่ามีไรแดงเฉลี่ยมากกว่า 10 ตัวต่อต้นหรือมีไรแดงมากจนไม่สามารถควบคุมได้ ใช้เชื้อแบคทีเรียบีที (Bacillus thuringinesis) สลับกับเชื้อราเมตาไรเซียม  ผสมสารจับใบทุกครั้ง ฉีดพ่นในช่วงเวลาเย็นทุก 5-7 วัน/ ครั้ง เมื่อพบหนอนระบาดในแปลง



วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2561

บทที่ 8 ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของไม้ดอกไม้ประดับ


ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของไม้ดอกไม้ประดับ

ไม้ดอกไม้ประดับจะเจริญเติบโต แข็งแรง สมบูรณ์ และสวยงามดีนั้น ผู้ปลูกควรจะต้องทราบถึงปัจจัยสำคัญต่างๆ
ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของไม้ดอกไม้ประดับ ดังนี้
1.แสง
แสงเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อพืชเป็นอย่างมาก เพราะพืชต้องการแสงเพื่อนำไปใช้ในขบวนการสังเคราะห์แสง
พันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับแต่ละชนิดต้องการความเข้มของแสงไม่เท่ากัน จึงสามารถแบ่งไม้ดอกไม้ประดับ ออกได้ตามความต้องการ
ของแสงคือ กลุ่มที่ต้องการแสงน้อย ต้องการแสงปานกลางหรือรำไร และต้องการแสงมาก ดังนั้น
ควรศึกษาถึงปริมาณของแสงที่พันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับแต่ละชนิดต้องการเพื่อจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับพันธุ์ไม้แต่ละชนิด
2.น้ำและความชื้น
พืชมีความจำเป็นต้องใช้น้ำในขบวนการสังเคราะห์แสงทำให้เซลล์เต่งตึง และยังเป็นตัวละลายแร่ธาตุต่างๆ ก่อนที่จะลำเลียงเข้าสู่ต้นพืช
พันธุ์ไม้แต่ละชนิดต้องการน้ำในปริมาณที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับขนาดและอายุของพืช สำหรับความชื้นในอากาศเป็นปัจจัยทางอ้อม
ที่มีผลต่อปริมาณความต้องการน้ำของพืช ถ้าความชื้นในอากาศต่ำพืชก็คายน้ำมากขึ้นทำให้พืชต้องการน้ำเพื่อชดเชยปริมาณน้ำที่
สูญเสียไป
3.อุณหภูมิ
อุณหภูมิเป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่ง ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช พืชจะเจริญเติบโตได้ดีในอุณหภูมิที่เหมาะสมกับต้นไม้
แต่ละชนิด อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญของพืชอยู่ในช่วง 15-40 องศาเซลเซียส ดังนั้นการนำพันธุ์ไม้มาปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ
จะต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมและอุณหภูมิที่พืชเหล่านั้นต้องการ
4.ธาตุอาหาร
ธาตุอาหารเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งส่วนใหญ่มาจากดิน
แต่ในดินบางชนิดมีปริมาณธาตุอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืชจำเป็นต้องใส่ปุ๋ยเพิ่มลงไป
โดยเฉพาะปุ๋ยที่มีธาตุอาหารหลัก คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแตสเซียม ซึ่งควรจะพิจารณาและเลือกใช้ให้เหมาะสม
กับสภาพของพันธุ์ไม้และดิน
5.ดิน
ดินที่มีความเหมาะสมในการปลูกพืชต้องเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง มีธาตุอาหารที่พืชต้องการอยู่อย่างครบถ้วน
แต่ดินที่มีความสมบูรณ์ จากธรรมชาติหาได้ยาก จึงต้องเพิ่มธาตุอาหารหรืออินทรียวัตถุต่างๆ ลงไป เพื่อปรับสภาพโครงสร้างของ
ดินให้เหมาะสมกับการปลูกพืช และการเจริญเติบโตของพืชแต่ละชนิด โดยดินที่ใช้ปลูกพืชที่ดีควรมีคุณสมบัติ คือ
มีความหนาแน่นและความละเอียดของเนื้อดินพอเหมาะในการยึดต้นไม้ มีการระบายน้ำและถ่ายเทอากาศและเก็บความชื้นได้ดี 
มีธาตุอาหารเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของพืช 
ยกตัวอย่างการบำรุงดาวเรืองให้มีผลผลิตเป็นไปตามความต้องการ ดอกสวยใหญ่ ลำต้นแข็งแรง
ดาวเรือง เป็นไม้ดอกที่คนไทยนิยมปลูกกันมาก เนื่องจากปลูกง่าย งอกเร็ว ต้นโตเร็ว และแข็งแรงไม่ค่อยมีโรคหรือแมลงรบกวน
ให้ดอกเร็ว ดอกดก มีหลายชนิดและหลายสี สีสันสดใส บานทนนานหลายวัน ให้ดอกในระยะเวลาสั้น คือ ประมาณ 60-70 วันหลังปลูก
ดังนั้นในการปลูกดาวเรืองสามารถกำหนดระยะเวลาการออกดอกให้ตรงกับเทศกาลสำคัญได้ จึงมีผู้นิยมปลูกมาก และใช้ดาวเรืองกันมาก
นอกจากนี้ยังสามารถปลูกได้ตลอดปี และปลูกได้ทุกจังหวัดในประเทศไทย
 ดาวเรืองที่ปลูกกันอยู่โดยทั่วไปแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. ดาวเรืองอเมริกันเป็นดาวเรืองที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปอเมริกา 
ดอกสีเหลือง ส้ม ทอง และขาว กลีบ ดอกซ้อนกันแน่น ดอกมีขนาดใหญ่ประมาณ 3-4 นิ้ว
ดาวเรืองชนิดนี้มีหลายพันธุ์ ได้แก่
 พันธุ์เตี้ย สูงประมาณ 10-14 นิ้ว ได้แก่ พันธุ์ปาปาย่า,ไพน์แอปเปิล,ปัมพ์กิน เป็นต้น
พันธุ์สูงปานกลาง สูงประมาณ 14-16 นิ้ว ได้แก่ พันธุ์อะพอลโล,ไวกิ่ง,มูนช๊อต เป็นต้น
 พันธุ์สูง สูงประมาณ 16-36 นิ้ว ได้แก่ พันธุ์ดับเบิล อีเกิล, ดับบลูน, ซอฟเวอร์เรน เป็นต้น
2. ดาวเรืองฝรั่งเศส ดาวเรืองฝรั่งเศสเป็นดาวเรืองต้นเล็ก ต้นเป็นพุ่มเตี้ย ๆ ดอกสีเหลือง ส้ม ทอง น้ำตาลอมแดง
และสีแดง ดอกมีขนาดเล็กประมาณ 1.5 นิ้ว นิยมปลูกประดับในแปลงมากกว่าปลูกเพื่อตัดดอก เพราะก้านดอกสั้น
ตัวอย่างดาวเรืองฝรั่งเศส ได้แก่
พันธุ์ดอกชั้นเดียว ดอกมีขนาด 1.5-2 นิ้ว ได้แก่ พันธุ์เรด มาเรตต้า,นอธตี้ มาเรตต้า,เอสปานา,ลีโอปาร์ด เป็นต้น
 พันธุ์ดอกซ้อน ดอกมีขนาดตั้งแต่ 1.5-3 นิ้ว ได้แก่ พันธุ์ควีน โซเฟีย, สการ์เลต โซเฟีย,โกลเด้น เกต เป็นต้น
3. ดาวเรืองพันธุ์ลูกผสม เป็นดาวเรืองลูกผสมระหว่างดาวเรืองอเมริกันและดาวเรืองฝรั่งเศส 
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำลักษณะความแข็งแรง ดอกใหญ่ และมีกลีบซ้อนมากของดาวเรืองอเมริกัน
รวมเข้ากับลักษณะต้นเตี้ยทรงพุ่มกะทัดรัดของดาวเรืองฝรั่งเศส ดาวเรืองลูกผสมให้ดอกเร็วมาก คือเพียง 5 สัปดาห์หลังจากเพาะเมล็ด
ดอกมีขนาด 2-3 นิ้ว ดอกดกและอยู่กับต้นได้ดี 
ตัวอย่างดาวเรืองพันธ์ุลูกผสม ได้แก่
  ดาวเรืองพันธ์ุลูกผสม ที่นิยมปลูกมีอยู่หลายพันธุ์ คือ พันธุ์นักเก็ต,ไฟร์เวิร์ก,เรด เซเว่น สตาร์และโชว์โบ๊ต เป็นต้น
การดูแลและบำรุงรักษาไม้ดอกไม้ประดับ เช่น ดาวเรือง กุหลาบ เป็นต้น
ทางเราขอนำเสนอปุ๋ย สารอาหาร และฮอร์โมนสำหรับการบำรุงดาวเรือง คือ ชุด "ซุปเปอร์ฟลาวเวอร์สำหรับไม้ดอกไม้ประดับ" 
ซึ่งในหนึ่งชุดจะมี 3 ขวดทำหน้าที่ต่างๆ กันในการบำรุงไม้ดอกไม้ประดับ ได้แก่
1. อีโค่บี สำหรับเพิ่มอาหาร น้ำตาล ปุ๋ย และอื่นๆ สำหรับการเจริญเติบโต และแข็งแรงของลำต้น
2. อีโค่พลัส สำหรับเพิ่มความแข็งแรงของใบ ดอกใหญ่สวย และช่วยให้ดอกอยู่นานไม่โรยเร็ว
3. พาราซอยล์ สำหรับปรับปรุงบำรุงดิน ช่วยปรับสภาพดินทำให้ดูดกินปุ๋ยได้ดี ช่วยปรับPHในดิน แก้ดินเปรี้ยว ดินเป็นกรด
ชุดไม้ดอกไม้ประดับนี้สามารถฉีดพ่นได้กับไม้ดอกไม้ประดับทุกชนิด โดยอัตราการใช้นั้นน้อยมากเพราะว่าเป็นสูตรเข้มข้น
ใช้เพียง 1 ซีซีต่อน้ำ 1 ลิตร หรือ 1 ฟอกกี้เท่านั้น จากนั้นฉีดพ่นทางใบสัปดาห์ละครั้ง ก็จะเห็นผลว่าไม้ดอกไม้ประดับคุณ
จะเติบโต ใบสวย รากงอกยาว ลำต้นสมบูรณ์ และดอกที่ออกมาจะสวยงาม สีสด และอยู่ได้นานไม่โรยเร็ว


บทที่ 7 ปลูกดาวเรืองให้เหลืองสะพรั่ง


ปลูกดาวเรืองให้เหลืองสะพรั่ง

ดอกไม้ช่วยเพิ่มสีสันและความสดชื่นให้บ้านได้ ยิ่งเป็นไม้กระถางที่สามารถยกย้ายปรับเปลี่ยนตำแหน่งได้ง่าย หรือการปลูกลงแปลงเพื่อช่วยสร้างความน่าสนใจให้สวน เราจึงขอชวนคุณมาปลูกดาวเรืองสีสดใส รับรองได้ว่า ดอกดาวเรือง จะช่วยทำให้บ้านและมุมสวนของคุณสดชื่นได้อย่างแน่นอน
ดอกดาวเรืองหรือดอกไม้สีเหลืองยังเป็นสีประจำวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช กระทรวงมหาดไทยจึงได้เชิญชวนภาคราชการ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วทั้งประเทศร่วมกันปลูกดอกดาวเรืองเพื่อใช้ประดับสถานที่ราชการ สถานที่สำคัญของจังหวัด บริษัท ห้างร้าน และบ้านเรือนประชาชนในช่วงพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ระหว่างวันที่ 25 – 29 ตุลาคม 2560
การปลูกดอกดาวเรืองจะใช้เวลาตั้งแต่ปลูกจนถึงออกดอกอยู่ที่ 45-60 วัน แล้วแต่ชนิดพันธุ์และช่วงเวลา เราจึงขอชวนคุณปลูกในเดือนสิงหาคมนี้ เพื่อให้ดอกดาวเรืองบานในช่วงเวลาสำคัญของคนไทยพอดี
วิธีการเพาะดาวเรือง
1. นำวัสดุเพาะหรือดินปลูกต้นไม้ใส่ถาดเพาะกล้าขนาด 104 หรือ 200 หลุม ให้เต็มถาด ปาดหน้าดินถาดเพาะให้เรียบ

2. หยอดเมล็ดลงในถาดเพาะกล้า หลุมละ 1 เมล็ด โดยใช้ด้านสีดำจิ้มลงในดิน ให้ด้านสีขาวโผล่ขึ้นเหนือดิน แล้วใช้วัสดุเพาะหรือดินปลูกโรยกลบบางๆ

3. การรดน้ำควรรดในช่วงเช้า หรือเมื่อสังเกตว่าดินแห้ง หากรดน้ำมากเกินไปจะทำให้เกิดความชื้น ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเชื้อราที่จะตามมา การรดน้ำควรใช้หัวสเปรย์ที่มีขนาดเล็กที่สุดเพื่อป้องกันในช่วงเพาะกล้าไม่ให้เมล็ดกระจายออกนอกถาด
4. เมื่อต้นกล้าอายุ 12-15 วัน ให้ย้ายต้นกล้าลงปลูกในกระถาง ดินที่ใช้ควรเป็นดินปลูกพืชที่ผสมขุ่ยมะพร้าว (กระถางขนาด 10-12 นิ้ว ใช้ต้นกล้า 2-3 ต้น/ 1 กระถาง) รดน้ำให้ชุ่ม

5. การใส่ปุ๋ย ใส่หลังจากย้ายต้นกล้าลงปลูกทุกๆ 7-10 วัน ใช้ปุ๋ยสูตร 16-16-16 อัตรา 1 ช้อนชา/ 1 กระถาง โดยโรยปุ๋ยให้ห่างจากโคนต้นกล้าประมาณ 1 คืบ (15 ซม.) แล้วรดน้ำตาม

6. การคัดยอด ควรเด็ดเมื่อต้นดาวเรืองมีใบจริงคู่ที่ 4-5 (ไม่นับใบเลี้ยง) หรือเมื่อดาวเรืองมีอายุประมาณ 28-30 วันหลังจากหยอดเมล็ด

7. ดาวเรืองจะเริ่มออกดอกและบาน หลังจากย้ายกล้าประมาณ 45-50 วัน แล้วแต่ชนิดของดาวเรืองและช่วงเวลาที่ปลูก
TIPS
·         หมั่นรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ ควรรดน้ำในช่วงเช้า เพื่อให้ความชื้นแก่ต้นในแปลงปลูกหรือกระถาง
·         ปุ๋ย 16-16-16 ใส่ช่วงหลังย้ายปลูกแล้ว 7-21 วัน ,ปุ๋ย 13-13-21 ใส่ช่วงหลังย้ายปลูกแล้ว 28-42 วัน ,ปุ๋ย 8-24-24 ใส่ช่วงหลังย้ายปลูกแล้ว 49 วันเป็นต้นไป
ที่มา http://www.baanlaesuan.com/67165/plant-scoop/marigold/

วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2561

บทที่ 6 วิธีทำให้ ดาวเรือง ออกดอกจำนวนมากขึ้น


วิธีทำให้ ดาวเรือง ออกดอกจำนวนมากขึ้น

หลังจากที่ปลูกดอก ดาวเรือง ประมาณ 1 เดือน เราจะเห็นการเติบโตอย่างชัดเจนมากขึ้น เริ่มมีใบจริงแตกก้านเป็นคู่ๆ รวมถึงแทงยอดอ่อนที่ประกอบด้วยใบเล็กๆ อีก 1-2 คู่รอวันออกดอกให้ได้ชื่นชม

ดาวเรือง แต่รู้หรือไม่ เราสามารถเพิ่มปริมาณจำนวนดอกดาวเรืองในหนึ่งต้นให้ได้จำนวนมากขึ้นได้ โดยวิธีง่ายๆที่เรียกว่า การเด็ดยอด

การเด็ดยอด เป็นหนึ่งในการเพิ่มผลผลิตที่เกษตรกรผู้ผลิตดอกดาวเรืองจำหน่ายรู้จักกันดี ในจำนวน 1 ต้นจะให้ดอกได้มากถึง 10 ดอกเลยทีเดียว ซึ่งครานี้เว็บไซต์บ้านและสวนสอบถามไปยังสำนักงานเกษตรพื้นที่กรุงเทพมหานคร กรมส่งเสริมการเกษตร ถึงวิธีการเด็ดยอด ที่ถูกต้องเพื่อให้ได้จำนวนดอกดาวเรืองในปริมาณที่มากขึ้น ซึ่งการเด็ดยอดอย่างถูกวิธีมีขั้นตอนมีดังนี้
1 เลือกต้นดอกดาวเรืองหลังจากปลูกลงดินที่มีอายุประมาณ 23-25 วัน หรือหากลืมนับอายุวันที่ปลูกให้สังเกตจำนวนใบคือจะมีใบจริงประมาณ 4 คู่ แต่จะรู้อย่างไรว่าใบจริงคือตรงไหน ให้ดูที่ลำต้นของดาวเรือง หากแตกใบเป็นคู่ๆ ประมาณ 3-4 คู่ เป็นอันใช้ได้


2 เมื่อได้ต้นดาวเรืองที่มีอายุพอเหมาะแล้ว ใช้มือรวบส่วนโคนของยอดแล้วเด็ดยอดนั้นออก (ดังรูปด้านบน)



3 ยอดที่เด็ดออกสามารถนำไปปลูกต่อได้โดยวิธีปักชำในดิน ก็จะได้ต้นดาวเรืองเพิ่มอีกโดยไม่ต้องรอเพาะเมล็ด


4 หลังจากเด็ดยอดประมาณ 15 วัน ต้นดาวเรืองจะแตกกิ่งข้างประมาณ 8-10 กิ่ง โดยแต่ละกิ่งจะมียอดอ่อนที่จะออกดอก 1 ดอก สามารถเด็ดยอดต่อเพื่อเพิ่มจำนวนได้ แต่จะมีผลต่อขนาดของดอกและใช้เวลาในการออกดอกนานเพิ่มขึ้นด้วย
5 ในขณะที่ดาวเรืองออกดอกเท่าเมล็ดข้าวโพด ทุกง่ามใบจะแตกยอดอ่อนซึ่งจะเจริญเติบโตเป็นดอกต่อไป ควรเด็ดยอดเหล่านั้นทิ้งเพื่อให้แต่ละต้นออกดอกในประมาณที่พอเหมาะจะได้ขนาดดอกที่สมบูรณ์ตามสายพันธุ์ แต่หากอยากได้ปริมาณมากก็สามารถปล่อยให้ยอดอ่อนเหล่านั้นเติบโตมากขึ้นได้

6 เมื่อต้นดาวเรืองเริ่มออกดอกเป็นตุ้มเล็กๆ ให้ใส่ปุ๋ยบำรุงดอกที่มีโปรแตสเซียมสูงอย่าง 8-24-24  และรดน้ำเป็นประจำ เพียงเท่านี้ก็ได้ดาวเรืองดอกโตสวยงาม

ที่มา  http://www.baanlaesuan.com/79609/plant-scoop/marigold2/
         

บทที 20 วิธีตัดดอกดาวเรือง

วิธีตัดดอกดาวเรือง 1 . สังเกตดอกที่มีใจกลางขนาดเท่าหัวปากกา 2. ตัดก้าน...