วันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

บทที่ 5 ประโยชน์ของดอกดาวเรือง



ประโยชน์ของดอกดาวเรือง

ประโยชน์ของดาวเรือง

  1. ดอกสามารถนำมาใช้ประกอบอาหารรับประทานได้ เช่น การนำดอกตูมมาลวกจิ้มกับน้ำพริก ใช้แกล้มกับลาบ หรือจะใช้ดอกบานนำไปปรุงแบบยำใส่เนื้อ ทำน้ำยำแบบรสหวานคล้ายกับน้ำจิ้มไก่หรือน้ำจิ้มทอดมัน เป็นต้น ส่วนทางภาคใต้นั้นจะนิยมนำมาใช้เป็นผักผสมในข้าวยำ
  2. ดอกดาวเรืองมีสารเบตาแคโรทีนจากธรรมชาติ ซึ่งคุณสมบัติของเบตาแคโรทีนนี้จะทำหน้าที่โปรวิตามินเอ เมื่อได้รับเข้าสู่ร่างกายแล้วจะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ นอกจากนี้ยังเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งในตับและปอดของร่างกายอีกด้วย
  3. ใช้น้ำสกัดจากดอกดาวเรือง สามารถนำมาใช้เพื่อป้องกันและกำจัดไส้เดือนฝอยในดินได้ โดยขนาดที่ใช้คือกลีบดอกสด 3 กรัมปั่นในน้ำ 1 ลิตร ใช้เป็นยาฉีดพ่น
  4. ดอกสามารถนำมาใช้ในงานพิธีต่าง ๆ ใช้ร้อยเป็นพวงมาลัยเพื่อบูชาพระและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อ หรือนำมาใช้เป็นดอกไม้ปักแจกันก็ได้เช่นกัน
  5. ดอกใช้สกัดทำเป็นสีย้อมผ้า โดยจะให้สีเหลืองทอง ซึ่งดอกดาวเรืองแห้ง 1.2 กิโลกรัม สามารถนำมาย้อมเส้นไหมได้ 1 กิโลกรัม โดยใช้วิธีการต้มเพื่อสกัดน้ำสีนาน 1 ชั่วโมง แล้วกรองเอาเฉพาะน้ำ ใช้ย้อมด้วยกรรมวิธีการย้อมร้อน แล้วนำเส้นไหมมาแช่ในสารละลาย 1% สารส้ม ก็จะได้เส้นไหมสีเหลืองทอง และดอกดาวเรืองที่ได้จากการนึ่งและอบจะให้น้ำสีที่เข้มข้นกว่าดอกสด 1 เท่า และมากกว่าดอกตากแห้ง 5 เท่า เมื่อใช้ในอัตราส่วนเท่ากัน
  6. ต้นและรากของดาวเรืองมีสารที่ช่วยป้องกันและกำจัดไส้เดือนฝอยในดินได้ โดยใช้วิธีการไถกลบทั้งต้นและรากลงในแปลงปลูกพืชเศรษฐกิจอื่น ๆ ที่มีปัญหาไส้เดือนฝอยในดิน เช่น แปลงยาสูบ มะเขือเทศ เยอบีร่า และสตรอว์เบอร์รี เป็นต้น
  7. ต้นดาวเรืองสามารถสะสมสารหนูได้มากถึง 42% จึงมีประโยชน์ในด้านการนำมาฟื้นฟูดินที่มีการปนเปื้อนสารหนูได้ดี
  8. ปัจจุบันได้มีการปลูกดาวเรืองเพื่อนำมาผลิตเป็นดอกดาวเรืองแห้ง เพื่อใช้เป็นส่วนผสมในอาหารหรือเป็นส่วนผสมในอาหารเสริมของไก่ไข่กันอย่างกว้างขวาง เพราะมีผลงานวิจัยที่ระบุว่าอาหารไก่ที่ผสมดอกดาวเรืองแห้งจะช่วยเพิ่มความเข้มสีของไข่แดงได้
  9. เนื่องจากดอกดาวเรืองมีความสวยงาม จึงนิยมปลูกเพื่อประดับเป็นจุดเด่นตามสวนหรือใช้ปลูกเป็นกลุ่ม ๆ ตามริมถนนหรือทางเดิน
  10. นอกจากจะใช้ปลูกเพื่อเป็นไม้ประดับแล้ว ยังสามารถนำมาใช้ปลูกเป็นเกราะป้องกันแมลงศัตรูพืชให้แก่พืชอื่น ๆ ได้อีกด้วย เนื่องจากดาวเรืองมีสารที่มีกลิ่นเหม็นฉุนที่แมลงไม่ชอบ
แหล่งที่มาhttps://medthai.com/%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87/

บทที่ 4 สรรพคุณของดอกดาวเรืิอง



สรรพคุณของดอกดาวเรืิอง

สรรพคุณของดาวเรือง

  1. ดอกและรากมีรสขมเผ็ดเล็กน้อย มีฤทธิ์เป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อปอดและตับ (ดอก, ราก)[4]
  2. ดอกใช้เป็นยาฟอกเลือด (ดอก)[1],[3]ในอินเดียจะใช้น้ำคั้นจากช่อดอกเป็นยาฟอกเลือด (ดอก)[11]
  3. ใช้ใบแห้งประมาณ 5-10 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้เด็กเป็นตานขโมย (ใบ)[6]
  4. ช่วยแก้อาการเวียนศีรษะ ด้วยการใช้ดอกประมาณ 3-10 กรัม ต้มกับน้ำดื่ม (ดอก)[1],[3],[4],[5],[6]
  5. ดอกช่วยบำรุงสายและถนอมสายตาได้ดี ในตำรายาจีนจะนำดอกมาปรุงกับตับไก่ใช้กินเป็นยาบำรุงสายตาได้ดี (ดอก)[3]
  1. ช่วยแก้ตาเจ็บ ตาบวม ตาแดง ปวดตา ด้วยการใช้ดอกแห้งประมาณ 10-15 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน (ดอก)[1],[4],[5],[6],[11]
  2. ดอกใช้รักษาคางทูม ด้วยการใช้ดอกประมาณ 3-10 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่ม (ดอก)[1],[3],[4],[5],[6] ส่วนตำรายาจีนจะใช้ดอกแห้ง ดอกสายน้ำผึ้ง เต่งเล้า อย่างละเท่ากัน นำมาบดรวมกันเป็นผง ผสมกับน้ำส้มสายชูคนให้เข้ากัน แล้วนำมาใช้พอกบริเวณที่เป็น (ดอก)[4]
  3. ดอกใช้เป็นยาแก้ไข้สูงในเด็กที่มีอาการชัก (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)[4]
  4. ช่วยแก้อาการร้อนใน (ดอก)[13]
  5. ช่วยแก้อาการไอหวัด ไอกรน ไอเรื้อรัง ด้วยการใช้ดอกสดประมาณ 10-15 ดอก นำมาต้มกับน้ำผสมกับน้ำตาลรับประทาน (ดอก)[1],[3],[4],[5],[6],[11]
  6. ช่วยขับและละลายเสมหะ ด้วยการใช้ดอกประมาณ 3-10 กรัมนำมาต้มกับน้ำดื่ม (ดอก)[1],[3],[4],[5]
  7. น้ำคั้นจากใบใช้แก้อาการหูเจ็บ ปวดหู (ใบ)[1],[3],[5]
  8. ช่วยแก้อาการปวดฟัน ด้วยการใช้ดอกแห้ง 15 กรัมนำมาต้มกับน้ำรับประทาน (ดอก)[4],[6]
  9. ช่วยรักษาปากเปื่อย (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)[4]
  10. ช่วยแก้คอและปากอักเสบ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)[4]
  11. ดอกใช้เป็นยาแก้หลอดลมอักเสบหรือระบบทางเดินหายใจติดเชื้อ โดยใช้ดอกสดประมาณ 10-15 ดอก นำมาต้มกับน้ำผสมกับน้ำตาลรับประทาน ส่วนอีกวิธีให้ใช้ดอกสด 30 ดอก ผสมกับจี๋อ้วง (Astertataricus L.F.) สด 7 กรัม, จุยเฉี่ยวเอื้อง (Inula Helianthus-aquatilis C.Y. Wuex Ling) สด 10 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่ม (ดอก)[1],[3],[4],[6],[11]
  12. ช่วยรักษาเต้านมอักเสบ เต้านมเป็นฝี โดยใช้ดอกแห้ง ดอกสายน้ำผึ้ง (Lonicera japonica Thunb), เต่งเล้า (paris petiolata Bak. ex. Forb.) อย่างละเท่ากัน นำมาบดรวมกันเป็นผงผสมกับน้ำส้มสายชู คนให้เข้ากัน แล้วนำมาใช้พอกบริเวณที่เป็น (ดอก)[1],[3],[4],[6],[11]
  13. ดอกและทั้งต้นเป็นยาขับลม ทำให้น้ำดีในลำไส้ทำงานได้ดี (ดอก, ทั้งต้น)[1],[2],[3],[4],[15] ส่วนตำรับยาเภสัชของเม็กซิโกจะใช้ช่อดอกและใบนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาขับลม (ดอก, ใบ)[11]
  14. ช่วยแก้อาการจุกเสียด (ต้น)[14]
  15. รากใช้เป็นยาระบาย (ราก)[11]
  16. ช่วยแก้อาการปวดท้อง (ทั้งต้น)[1],[2]
  17. ต้นนำมาใช้ทำเป็นยารักษาโรคไส้ตันอักเสบหรือมีอาการปวดท้องขนาดหนักคล้ายกับไส้ติ่ง (ต้น)[3]
  18. ใบและช่อดอกนำมาชงกับน้ำ ใช้เป็นยาขับพยาธิ (ดอก, ใบ)[11]
  19. ตำรับยาเภสัชของเม็กซิโกเคยมีการใช้ดอกและใบดาวเรืองนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาขับปัสสาวะ (ดอก, ใบ)[11]
  20. ดอกเป็นยาแก้ริดสีดวงทวาร (ดอก)[1],[5] โดยในอินเดียจะใช้น้ำคั้นจากช่อดอกดาวเรืองเป็นยาแก้ริดสีดวงทวาร (ดอก)[11]
  21. ดอกใช้เป็นยากล่อมตับ ดับพิษร้อนในตับ ด้วยการใช้ดอก 3-10 กรัมนำมาต้มกับน้ำดื่ม (ดอก)[1],[4],[6]
  22. รากใช้เป็นยาแก้พิษ แก้อาการบวมอักเสบ (ราก)[4]
  23. ดอกมีสรรพคุณเรียกเนื้อ ทำให้แผลหายเร็ว ด้วยการใช้ดอกนำมาต้มเอาน้ำใช้ชะล้างบริเวณที่เป็นแผล (ดอก)[1]
  24. ใบมีรสชุ่มเย็นและมีกลิ่นฉุน น้ำคั้นจากใบสามารถนำมาใช้เป็นยาทารักษาแผลเน่าเปื่อย หรือนำมาตำใช้เป็นยาพอกก็ได้ (ใบ)[1],[3],[4],[5] บ้างก็ใช้น้ำคั้นจากใบนำมาผสมกับน้ำมันมะพร้าว เคี่ยวจนส่วนน้ำระเหยหมดใช้เป็นยาทารักษาแผลเน่าเปื่อยและฝีต่าง ๆ (ใบ)[11]
  25. น้ำคั้นจากใบใช้เป็นยาทาแก้ฝีต่าง ๆ ฝีฝักบัว ฝีพุพอง หรือนำใบมาตำพอก หรือต้มเอาน้ำชะล้างบริเวณที่เป็น อีกทั้งยังช่วยรักษาแผลฝี ตุ่มมีหนอง อาการบวมอักเสบโดยไม่รู้สาเหตุได้อีกด้วย (ใบ)[1],[3],[5],[6]
  26. ต้นใช้เป็นยารักษาแก้ฝีลม (ต้น)[3]
  27. ในบราซิลจะใช้ช่อดอกนำมาชงกับน้ำดื่มเป็นยาแก้อาการปวดตามข้อ (ดอก)
 แหล่งที่มาhttps://medthai.com/%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87/

บทที่ 3 ลักษณะการปลูกและดูแลดอกดาวเรืองดอกดาวเรือง



ลักษณะการปลูกดอกดาวเรือง
การเพาะเมล็ดและการดูแลต้นกล้า
วัสดุเพาะเมล็ดที่แนะนำคือ “พีทมอส” (Peat Moss) เนื่องจากมีธาตุอาหารที่เหมาะสำหรับการเจริญเติบโตในช่วงแรกของต้นกล้า และขุยมะพร้าวร่อนซึ่งมีคุณสมบัติอุ้มน้ำได้ดี โดยใช้พีทมอสสองส่วนผสมกับขุยมะพร้าวร่อนหนึ่งส่วน คลุกเคล้าให้เข้ากันบรรจุลงถาดหลุมรดน้ำให้มีความชื้นพอประมาณ จากนั้นนำเมล็ดดาวเรืองจิ้มลงหลุมโดยนำด้านที่มีลักษณะแหลมเป็นด้านที่จิ้มลงหรืออาจใช้วิธีการวางเมล็ดลงในหลุมแล้วกลบด้วยขุยมะพร้าวก็ได้ หลังจากนั้น 3-5 วัน เป็นช่วงที่เมล็ดพัฒนาการงอกให้ต้นกล้าได้รับการพรางแสงประมาณ 80% เมื่อต้นกล้ามีใบเลี้ยงบานเต็มที่ ให้มีการพรางแสงประมาณ 50% เป็นเวลา 2-3 วัน จากนั้นเมื่อต้นกล้าพัฒนาใบจริงขึ้นมา 1 คู่ จึงสามารถให้ต้นกล้าได้รับแสงแดดปกติโดยไม่มีการพรางแสง เมื่อต้นกล้าอายุได้ประมาณ 15-18 วัน หลังจากวันเพาะ หรือให้สังเกตว่าต้นกล้ามีใบจริงประมาณ 2-3 คู่ หรือรากเจริญเต็มหลุม จึงสามารถย้ายปลูกลงแปลงได้ ในช่วงนี้เกษตรกรควรเอาใจใส่ดูแลเป็นพิเศษ ซึ่งหากต้นกล้าที่เพาะมีความสมบูรณ์แข็งแรงดี การเจริญเติบโตหลังจากลงแปลงก็จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว การย้ายกล้าในกรณีที่ต้นกล้ามีอายุมากเกินไปหรือเกิน 20 วัน จะทำให้ระบบรากแพร่กระจายได้ช้า การเจริญเติบโตก็ช้าไปด้วย
การเตรียมแปลง
เป็นขั้นตอนที่สำคัญมากสำหรับการปลูกดาวเรือง การไถตากดินจะเป็นการช่วยฆ่าเชื้อโรคในดินซึ่งจะเป็นการช่วยลดการเกิดโรคที่มีสาเหตุจากเชื้อรา-แบคทีเรียในดิน ควรมีการไถตากดินก่อนปลูกอย่างน้อยประมาณ 2 สัปดาห์ และทำการยกแปลงโดยแปลงควรมีขนาดกว้าง 1-1.2 ม. การเตรียมแปลงแนะนำให้มีการหว่านปูนขาว 300-400 กก./ไร่ จากนั้นก่อนปลูก ควรมีการใส่ปุ๋ยรองพื้น สูตร 0-46-0 หรือสูตรเสมอ หรืออาจเป็นปุ๋ยคอกก็ได้ เช่น ขี้ไก่อัดเม็ด ขี้วัว เป็นต้น หากดินเป็นดินเหนียวจัด ควรมีการปรับปรุงดินก่อนปลูกโดยการเติมอินทรีย์วัตถุ เช่น แกลบดิบเปลือกถั่ว รวมถึงปุ๋ยคอกและปุ๋ยอินทรีย์ที่สามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่น เพื่อเป็นการปรับโครงสร้างของดินให้เหมาะสมต่อการเพาะปลูก
การย้ายปลูก
แนะนำให้ย้ายปลูกในช่วงบ่ายหรือเย็นเป็นต้นไป เนื่องจากต้นกล้าสามารถตั้งตัวได้ดีกว่าการย้ายปลูกตั้งแต่ช่วงเช้า ระยะห่างระหว่างต้นอยู่ที่ประมาณ 40-60 ซ.ม. ระยะห่างระหว่างแถวประมาณ 1-1.2 ม. แล้วแต่ฤดูกาล ช่วงหน้าหนาวและหน้าร้อน แนะนำให้ปลูกแถวคู่จะช่วยในการเก็บความชื้นในดิน ส่วนหน้าฝนแนะนำให้ปลูกแถวเดี่ยวซึ่งสามารถช่วยลดการเกิดโรคได้
การเด็ดยอด
หลังจากปลูกลงแปลงได้ประมาณ 10-15 วัน ทำการเด็ดยอดดาวเรือง โดยให้ดาวเรืองเหลือใบจริงไว้ 3 คู่ (6 ใบ) ทำการเด็ดคู่ที่ 4 ทิ้งไป ช่วงนี้ให้ระวังแมลงศัตรูดาวเรืองจำพวกเพลี้ยไฟ ไรแดง โดยจะทำลายยอดอ่อนที่ขึ้นมาใหม่ ทำให้ดาวเรืองชะงักการเจริญเติบโตได้
การเก็บเกี่ยว
หลังจากดาวเรืองอายุได้ประมาณ 60-65 วัน จะเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ช่วงนี้เป็นช่วงที่สำคัญมาก ควรให้ปุ๋ยดาวเรืองอย่างสม่ำเสมอ หรือทุก 7-10 วัน เพื่อให้อายุการเก็บเกี่ยวยาวนานและต้นไม่โทรมเร็ว โดยแปลงต้องมีความชื้นอยู่เสมอ
แมลงศัตรูที่สำคัญที่ควรระวังของดาวเรือง
  1. เพลี้ยไฟ จะเข้าทำลายดูดกินน้ำเลี้ยงที่ยอดอ่อน จะทำให้ใบหงิกงอไม่แตกใบใหม่ มักเกิดในช่วงหลังจากเด็ดยอด และในสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าว ควรฉีดพ่นสารเคมีในกลุ่ม ฟูโนบูคาร์บฟิโพรนิลทุก ๆ 5-7 วัน หรือทุก 2-3 วัน หากมีการระบาดมาก
  2. ไรแดง พบมากในช่วงฤดูร้อนส่วนใหญ่อยู่ใต้ใบชอบอยู่เป็นกลุ่ม หากมีปริมาณมากจะสร้างเส้นใยคล้ายใยแมงมุม พืชที่โดนทำลายจะแสดงอาการเป็นจุดด่างๆ สีเหลือง ควรฉีดพ่นสารเคมีในกลุ่ม อมิทราช, ไดโคโฟลทุก ๆ 5-7 วัน
  3. หนอนชอนใบ ตัวหนอนจะชอนไชเป็นทางยาว ใบที่ถูกทำลายจะแสดงลักษณะแคระแกร็น บิดเบี้ยว ควรฉีดพ่นสารเคมีในกลุ่มคาร์แท็ปไฮโดรคลอไรด์, อบาแม็กติน ทุก ๆ 5-7 วัน
  4. หนอนเจาะดอก จะเข้าทำลายในช่วงที่ดอกตูมหรือดอกเริ่มบาน หากรุนแรงจะทำให้กลีบดอกร่วงเสียหายไม่สามารถจำหน่ายได้ ควรป้องกันโดยการฉีดพ่นสารเคมีในกลุ่ม คาร์แท็ปไฮโดรคลอไรด์, ไซเพอร์เมทริน 35 ในช่วงดอกตูมทุก 3-5 วัน หากพื้นที่นั้นมีการระบาด
แหล่งที่มา  http://thanachartcsr.com/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87/

บทที่ 2 ถิ่นกำเนิดของดอกดาวเรือง



ถิ่นกำเนิดของดอกดาวเรือง

ดาวเรืองมีถิ่นกำเนิดในประเทศเม็กซิโก ต่อมามีผู้นำเข้าไปปลูกในยุโรป  เนื่องจากเป็นไม้ที่ปลูกง่ายเลี้ยงง่าย อีกทั้งดอกมีความสวยงาม  จึงเป็นที่นิยมปลูกอย่างแพร่หลาย ใช้เป็นดอกไม้หน้าแท่นบูชาพระนางแมรี  และเนื่องจากดอกดาวเรืองดั้งเดิมมีเพียงสีเดียวคือ สีเหลือง จึงเรียกชื่อไม้ดอกชนิดนี้ว่า Mary's gold ต่อมาจึงเพี้ยนไปเป็น Marigolds นอกจากดาวเรืองจะใช้ปลูกเป็นไม้ประดับและไม้กระถางแล้วยังใช้ประโยชน์เป็นพืชสีโดยใช้เป็นสีย้อมผ้ามาตั้งแต่สมัยโบราณ  และในปัจจุบันยังใช้ดอกดาวเรืองผสมในอาหารสัตว์เป็นอาหารเสริมอีกด้วย
ดาวเรือง (ชื่อวิทยาศาสตร์Tagetes erecta L.) มีชื่อตามภาษาท้องถิ่นว่า คำปู้จู้ (ภาคเหนือ) นิยมปลูกตัดดอก เป็นดาวเรืองในกลุ่ม African หรือ American marigold เป็นพันธุ์ดอกใหญ่ พันธุ์ที่ใช้เป็นการค้าในประเทศไทยได้แก่พันธุ์ซอเวอริน (soverign) นอกจากนี้ยังมีสายพันธุ์ใหม่ ๆ ที่นำเข้ามาได้แก่ พันธุ์จาเมกาและอื่น ๆ อีกหลายพันธุ์
ดาวเรืองขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดเป็นหลัก อาจใช้การปักชำได้ แต่ต้นที่ได้จะให้ดอกที่มีขนาดเล็กกว่า

แหล่งที่มา  http://science.sut.ac.th/gradbio/stupresent/2548/gr3/dounreng.htm
                 
                                 https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87

วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

บทที่ 1 ชนิดของดอกดาวเรือง

ชนิดของดอกดาวเรือง

ดาวเรืองที่ปลูกกันอยู่โดยทั่วไปแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
        1.  ดาวเรืองอเมริกัน (American Marigolds ) เป็นดาวเรืองที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปอเมริกา ลำต้นสูงตั้งแต่ 10-40 นิ้ว ดอกสีเหลือง ส้ม ทอง และขาว กลีบ ดอกซ้อนกันแน่น ดอกมีขนาดใหญ่ประมาณ 3-4 นิ้ว ดาวเรืองชนิดนี้มีหลายพันธุ์ ได้แก่
             พันธุ์เตี้ย สูงประมาณ 10-14 นิ้ว ได้แก่ พันธุ์ ปาปาย่า (papaya) ไพน์แอปเปิล (pineaple) ปัมพ์กิน (Pumpkin) เป็นต้น
             พันธุ์สูงปานกลาง สูงประมาณ 14-16 นิ้ว ได้แก่ พันธุ์อะพอลโล (Apollo) ไวกิ่ง (Ziking) มูนช๊อต (Moonshot) เป็นต้น
             พันธุ์สูง สูงประมาณ 16-36 นิ้ว ได้แก่ พันธุ์ดับเบิล อีเกิล (Double Egle) ดับบลูน (Doubloon) ซอฟเวอร์เรน (Sovereign) เป็นต้น
        2.ดาวเรืองฝรั่งเศส (French Marigolds) ดาวเรืองฝรั่งเศสเป็นดาวเรืองต้นเล็ก ต้นเป็นพุ่มเตี้ย ๆ สูงประมาณ 6-12 นิ้ว ด    อกสีเหลือง ส้ม ทอง น้ำตาลอมแดง และสีแดง ดอกมีขนาดเล็กประมาณ 1.5 นิ้ว นิยมปลูกประดับในแปลงมากกว่าป           ลูกเพื่อตัดดอก เนื่องจากดอกเล็ก มีกานดอกสั้น นอกจากนี้ยังเป็นดาวเรืองที่สามารถลดปริมาณไส้เดือนฝอยที่ทำให้
       เกิดอาการ รากปมในรากพืชได้ ตัวอย่างดาวเรืองฝรั่งเศส ได้แก่ พันธุ์ดอกชั้นเดียว ดอกมีขนาด 1.5-2 นิ้ว ได้แก่ พันธุ์
       เรดมาเรตต้า (Red Marietta) นอธตี้ มาเรตต้า (Naughty Marietta) เอสปานา (Espana) ลีโอปาร์ด (Leopard) เป็นต้น
       พันธุ์ดอกซ้อน ดอกมีขนาดตั้งแต่ 1.5-3 นิ้ว ได้แก่ พันธุ์ควีน โซเฟีย (Queen Sophia ) สการ์เลต โซเฟีย (Scarlet Sophia) โ      กลเด้น เกต (Golden Gate ) เป็นต้น



3. ดาวเรืองพันธุ์ลูกผสม (Mule Marigolds หรือ Afro American Marigolds) เป็นดาวเรืองลูกผสมระหว่างดาวเรืองอเมริกันและดาวเรืองฝรั่งเศส โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำลักษณะความแข็งแรง ดอกใหญ่ และมีกลีบซ้อนมากของดาวเรืองอเมริกัน รวมเข้ากับลักษณะต้นเตี้ยทรงพุ่มกะทัดรัดของดาวเรืองฝรั่งเศส ดาวเรืองลูกผสมจะให้ดอกเร็วมาก คือเพียง 5 สัปดาห์หลังจากเพาะเมล็ด ดอกมีขนาด 2-3 นิ้ว ดอกดกและอยู่กับต้นได้ดี ดาวเรืองชนิดนี้มีข้อเสียก็คือเมล็ดจะลีบ ไม่สามารถนำมาเพาะให้เป็นต้นใหม่ได้คือเป็นหมัน จึงทำให้เมล็ดมีราคาแพงมาก และการปลูกดาวเรืองด้วยเมล็ดชนิดนี้ จึงควรใช้เมล็ดเป็นปริมาณ 2 เท่าของจำนวนที่ต้องการ เนื่องเมล็ดมีเปอร์เซ็นต์ความงอกต่ำ ดาวเรืองลูกผสมที่นิยมปลูกมีอยู่หลายพันธุ์ คือ พันธุ์นักเก็ต (Nugget) ไฟร์เวิร์ก (Fireworks) เรด เซเว่น สตาร์(Red Sevenstar) และโชว์โบ๊ต (Showboat)

พันธุ์ดาวเรืองที่นิยมปลูกในประเทศไทย

1.พันธุ์ซอฟเวอร์เรน ดอกสีเหลือง กลีบดอกซ้อนกันแน่น สวยงาม ดอกมีขนาดประมาณ 10 ซ.ม

2.พันธุ์ทอรีดอร์ ดอกสีส้ม ขนาดประมาณ 8.5-10 ซ.ม
3.พันธุ์ดับเบิล อีเกิล ดอกสีเหลือง ขนาดประมาณ 8.5 ซ.ม และมีก้านดอกแข็ง
4.พันธุ์ดาวเรืองเกษตร เป็นดาวเรืองที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นำเข้ามาทดลองปลูกและคัดเลือกพันธุ์ที่โครงการเกษตรที่สูง และได้คัดเลือกพันธุ์ไว้ได้ 2 พันธุ์ คือ ดาวเรืองเกษตร พันธุ์สีทองเบอร์ 1 และดาวเรืองเกษตร พันธุ์สีทองเบอร์ 4 เป็นพันธุ์ที่มีดอกสีเหลืองทองขึ้นได้ดีในสภาพของประเทศไทย และให้ผลลิตสูง


แหล่งที่มา  http://www3.rdi.ku.ac.th/?p=18937
            https://www.dmc.tv

บทที 20 วิธีตัดดอกดาวเรือง

วิธีตัดดอกดาวเรือง 1 . สังเกตดอกที่มีใจกลางขนาดเท่าหัวปากกา 2. ตัดก้าน...